ผู้เชี่ยวชาญด้านสีพ่นเลียนแบบหินแกรนิต


เวลาทำการจ-ส 08:00-17:00 น.

ทิวทัศน์ของวัดเซนโซจิที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตัวอาคารมีทั้งความทันสมัยและกลิ่นอายของความดั้งเดิมในเวลาเดียวกัน
ทิวทัศน์ของวัดเซนโซจิที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตัวอาคารมีทั้งความทันสมัยและกลิ่นอายของความดั้งเดิมในเวลาเดียวกัน

ข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างสิ่งปลูกสร้าง  วัฒนธธรมทางสังคมของญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อการพัฒนาวัสดุที่ใช้และวิธีการก่อสร้าง

  ในแต่ละประเทศล้วนมีประเพณีและขนบธรรมเนียมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่นำมาใช้กำหนดบรรทัดฐานทางกฎหมายที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แนวโน้มระหว่างประเทศ ความต้องการทางสังคมและวัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้างโครงเหล็กและไม้ของญี่ปุ่นรวมกันต้องมีสัดส่วนมากกว่า 75% ของทั้งหมด รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ  ตลอดจนอิทธิพลทางสังคม วัฒนธรรมและกฎระเบียบ อีกทั้งประเทศญี่ปุ่นได้สร้างกำแพงเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ตลอดจนพัฒนาเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภูมิอากาศและปรากฏการณ์แผ่นดินไหวของประเทศญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อวัสดุผนัง

 

สังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินมีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้าง

  วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีความตระหนักถึงความเป็นระเบียบและผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากเรื่องการทำงาน การคมนาคมแล้ว ยังมีการจัดการถึงภาพลักษณ์ของตึกอาคารที่มีรอยร้าว หลุดลอก อาคารเก่าที่ไม่น่าดู

  นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการจัดการอพาร์ทเม้นต์ ตึกอาคารของญี่ปุ่นแล้ว ยังมีระบบการซ่อมแซมและเงินสะสมอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้นอกจากจะใช้จ่ายเป็นค่าจัดการตามแผนการการซ่อมบำรุงในระยะยาวแล้วยังจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินกองทุนเพื่อบำรุงรักษาไปยังบัญชีพิเศษแบบประจำ เมื่อต้องการใช้ในการซ่อมแซม บำรุงอาคารก็สามารถนำเงินในส่วนนี้ไปใช้ได้

マンションの管理組合理事長に選任されたでござる。500戸弱の大規模マンションで修繕積立金制度改訂という絶妙なタイミングなのではありますが、楽しんで勤めたい所存であります。

  กฎหมายการถือครองกรรมสิทธ์อาคารของญี่ปุ่นให้อิสระผู้ประกอบการในการจัดการซ่อมบำรุงรักษา  ซ่อมแซมอาคาร  แต่การสรุปมติต่างๆ ในที่ประชุมตามหลักเกณฑ์การจำแนกนั้นยังต่ำกว่าของไต้หวัน

ที่ไต้หวันไม่มีระบบกองทุนบำรุงรักษา  อพาร์ทเม้นต์ ตึก  อาคารต่างๆ  ที่ต้องการซ่อมบำรุงจะต้องใช้เงินจากส่วนที่เหลือจากการจัดการรายเดือน  ซึ่งโดยทั่วไปค่าธรรมเนียมในการจัดการยิ่งต่ำเท่าไหร่ยิ่งดี  และส่วนใหญ่สามารถจ่ายค่าดำเนินการและค่าบำรุงรักษาเป็นรายวัน  ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องมีโครงการบำรุงรักษาขนาดใหญ่คณะกรรมการจะเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกับเจ้าของบ้าน  เนื่องจากโครงการซ่อมแซมบำรุงอาจมีความล้าช้าหรืออาจจะไม่ได้รับการแก้ไขเลย ฉะนั้นไม่ต้องพูดถึงพื้นที่ชุมชนเก่าและอพาร์ทเม้นต์หลายแห่งที่ไม่มีคณะกรรมการบริหารจัดการเลย

 

  การวางแผนที่เหมาะสมของการซ่อมแซมรวมถึงความกังวลว่าลักษณะของอาคารจะส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์โดยรวมของชุมชนหรือไม่ ดังนั้นเพื่อให้การซ่อมแซมผนังบ้านเก่าและซ่อมแซมผิวในญี่ปุ่นให้กลายเป็นอุตสาหกรรมทั่วไป โดยมีข้อกำหนดพิเศษสำหรับรายละเอียดการซ่อมแซมต่างๆ และในปัจจุบันความต้องการในการซ่อมแซมตึกอาคารกำลังเฟื่องฟูในตลาดสีและงานผนัง

งานพ่นสีเลียนแบบหินแกรนิตบนอาคารภายนอก  บนเกาะไดมอนด์ ประเทศกัมพูชา  โดยช่างพ่นสีกำลังโรยตัวลงมาเพื่อพ่นสีเลียนแบบหินแกรนิต ADD STONE

 

การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ - "บ้านพักที่มีพลังงานสุทธิเป็นศูนย์"

  สภาพแวดล้อมของญี่ปุ่นต้องเผชิญกับอุณภูมิสูงสุดอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิต่ำสุด 0 องศาเซลเซียสในเวลาเดียวกัน  ดังนั้นการจัดการกับความร้อนของอาคารถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแผน”มาตรการลดภาวะโลกร้อน” ในเดือนพฤษภาคม 2016 กำหนดเป้าหมายสำหรับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้พลังงาน เป้าหมายในปี 2020 คือมี 50%ของบ้านเดี่ยวที่สร้างขึ้นใหม่เป็นแบบบ้านพักที่มีพลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy House;ZEH)และบ้านที่สร้างใหม่ทั้งหมดต้องบรรลุเป่าหมาย ZEH ให้ได้ภายในปี 2030

  Zero-energy building (อาคารที่มีพลังงานสุทธิเป็นศูนย์) หมายถึงตัวอาคารที่มีการใช้พลังงานเป็นศูนย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนอกเหนือจากตัวอาคารใช้พลังงานแสงอาทิตย์และวิธีการอื่นๆในการรวบรวมและผลิตพลังงานด้วยตนเองและลดการใช้พลังงานโดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้ไฟจากธรรมชาติ ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ อีกทั้งอาคารที่สามารถรักษาอุณหภูมิและกันความร้อนได้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

  จากข้อมูลของ International Energy Agency;IEA ปริมาณการใช้พลังงานในอาคารทั่วโลกทั้งหมดคิดเป็น 32-40% ซึ่งการใช้แสงสว่างจากไฟฟ้าประมาณ 30-40% และเครื่องปรับอากาศใช้พลังงานประมาณ50% ซึ่ง 50 - 80% ในการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศเสียไปกับการขจัดความแตกต่างของอุณหภูมิจากสภาพแวดล้อมภายนอก นั่นคือความร้อนที่ผ่านมาทางผนังและหน้าต่าง อีกทั้งยังมีพลังงานสูญเปล่าของโลกอีก 10-18%

  การสร้างฉนวนกันความร้อนมีวิธีการทำหลักๆดังนี้ 1.ใช้หน้าต่างกระจกสองหรือสามชั้นที่มีการแผ่รังสีความร้อนต่ำ 2.หลังคา  ดาดฟ้า  ช่วยลดการดูดซับความร้อน 3.ผนังอาคารปกคลุมไปด้วยวัสดุฉนวนเพื่อแยกพลังงานความร้อน ในกรณีของฉนวนผนังโดยทั่วไปแล้วมักจะวางไว้ด้านในของผนังของผิวภายนอกของอาคาร จากนั้นผนังจะถูกห่อหุ้มและดำเนินการประดับตกแต่ง

 

โครงการก่อสร้างรูปแบบ ZEH ของญี่ปุ่น (ネット・ゼロ・エネルギー・ハウス)に関する情報公開について

รายงานข่าว “รายงานพิเศษ”ฉบับที่ 75 ผลกระทบและประสิทธิภาพของฉนวนกันความร้อนต่อสมรรถนะของฉนวนกันความร้อนผิวด้านนอกของอาคาร (จีนไต้หวัน)

การหมุนเวียนพลังงานเป็นวิธีการที่ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าการปิดแอร์ทั้งหมด (จีนไต้หวัน)

อาคารรูปแบบกรีนช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างไร? (จีนไต้หวัน)

Ge netZeroEnergyHome
By Qais Tabib - Own work, CC BY-SA 3.0, Link

 

75%ของการก่อสร้างไม้และเหล็ก

  วัฒนธรรมทางสังคมของญี่ปุ่นนิยมใช้ไม้ในการสร้างบ้านซึ่งแตกต่างจากทางไต้หวันที่นิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก RC ในการสร้างบ้านแทบจะทั้งหมด จากการสำรวจของกระทรวงภายในประเทศญี่ปุ่นในปี 2014 พบว่ามีการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างเหล็กและไม้ประมาณ 70%

  การก่อสร้างโดยใช้โครงไม้และโครงเหล็กต่างจากการก่อสร้างโดยใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก RC ที่จะต้องมีการเทคาน และทำโครงเป็นช่องเล็กๆเพื่อให้สามารถบรรจุวัสดุและก่อตัวขึ้นมาเป็นผนังได้

  โครงสร้างมีผลกระทบต่อการก่อสร้างรวมถึงการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ซึ่งทำให้เกิดการนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงผนังฉนวนกันความร้อนของญี่ปุ่น ซึ่งในปัจจุบันผนังฉนวนกันความร้อนที่เป็นไฟเบอร์กลาสมีประมาณ 50% และผนังภายนอกใช้เป็นเซรามิกแขวนเป็นหลักประมาณ 70% ส่วนผนังภายในมีความหลากหลายซึ่งยึดตามการออกแบบ การก่อสร้าง และวัสดุ

ในปัจจุบันไต้หวันไม่ได้มีการบังคับให้ใช้ผนังฉนวนกันความร้อนหรือมีข้อบังคับในการใช้พลังงาน ซึ่งอาคารส่วนใหญ่ที่ไต้หวันล้วนแต่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก RC โดยพิจารณาประกอบกับสภาพอากาศที่มีฝนตกชุก และอาคารภายนอกส่วนใหญ่จะใช้เป็นผนังกระเบื้องหรือซีเมนต์ธรรมดา

 

สภาพแวดล้อมของภูเขาที่มีหิมะตกพร้อมกับผนังบ้านไม้ที่ใช้แผ่นผนังเลียนแบบหินแกรนิตสำเร็จรูป ADD STONE
ผนังเลียนแบบหินแกรนิตสำเร็จรูป ADD STONE สามารถใช้ได้กับหลายๆ  สภาพแวดล้อม  สภาพอากาศ แม้ว่าจะเป็นบ้านไม้กลางภูเขาที่มีหิมะตกก็สามารถนำไปใช้ได้

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

ภาพรวมพัฒนาอุตสาหกรรม “บ้านพักที่มีพลังงานเป็นศูนย์(ZEH)” ของญี่ปุ่น (จีนไต้หวัน)

ภาพรวมของตลาดวัสดุฉนวนกันความร้อน ทำลายความร้อน เก็บความร้อนของญี่ปุ่นคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 15% ถึง 824.6พันล้านเยนในปี 2023 (จีนไต้หวัน)

บ้านที่มีพลังงานสุทธิเป็นศูนย์ ZEH-M เป็นที่อยู่อาศัยแบบประหยัดพลังงานที่ได้รับการอัพเกรด (จีนไต้หวัน)

13% ของที่อยู่อาศัยแบบประหยัดพลังงาน มีพลังงานสุทธิน้อยกว่าศูนย์ (จีนไต้หวัน)

PDF ของมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานใหม่ของญี่ปุ่น (จีนไต้หวัน)

PDF กฎระเบียบและรางวัลใหม่ล่าสุดของที่พักอาศัยแบบประหยัดพลังงานของญี่ปุ่น (จีนไต้หวัน)

 

Pin It