ผู้เชี่ยวชาญด้านสีพ่นเลียนแบบหินแกรนิต


เวลาทำการจ-ส 08:00-17:00 น.

แนะนำคิ้วกันสาด แถบกันน้ำฝน ที่ครอบกันฝน รางน้ำฝน แผ่นระบายน้ำ ตามความแตกต่างในการใช้คำเรียกในภาษาจีนและภาษาอังกฤษ 

  คิ้วกันสาด แถบกันน้ำฝน ที่ครอบกันฝน แผ่นระบายน้ำล้วนเป็นวัสดุที่ใช้สำหรับอาคารโดยนำมาใช้ในการป้องกันน้ำฝน แต่มีคุณสมบัติและพื้นที่ในการติดตั้งที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงคำที่ใช้เรียกในภาษาจีน ภาษาอังกฤษและการประยุกต์ใช้ก็มีความแตกต่างกันเล็กน้อย

 

คิ้วกันสาด(คิ้วกันสาด แถบกันน้ำฝน แผ่นระบายน้ำ ที่ครอบกันน้ำฝน)

  ไต้หวันตั้งอยู่ในเขตโซนร้อน ฤดหนาวจะไม่มีการแข็งตัวของน้ำแข็งและหิมะ อาคารส่วนใหญ่ใช้คอนกรีตเสริมแรง โครงสร้างเหล็ก จุดประสงค์ในการติดตั้งคิ้วกันสาดมี2ประการคือ

  1. ป้องกันไม่ให้เกิดคราบสกปรกและคราบน้ำฝน
  2. ป้องกันและช่วยลดน้ำไหลซึมเข้าตามช่องประตู หน้าต่างซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผนังบวม
คฤหาสน์หินแกรนิตที่ภายนอกเต็มไปด้วยคราบน้ำฝน คราบสกปรก
คฤหาสน์หรูหราที่ภายนอกประดับตกแต่งด้วยหินแกรนิต รูปแกะสลักอย่างสวยงามแต่ไม่ได้ติดตั้งคิ้วกันสาดทำให้ถูกปกคลุมไปด้วยคราบน้ำฝนและคราบดำๆทั่วทั้งหลัง

  คิ้วกันสาดไม่มีชื่อเรียกที่ตายตัว ผู้ผลิตบางร้านก็เรียกว่าแถบกันน้ำฝน(ป้องกันคราบสกปรก) คิ้วกันสาด(ป้องกันคราบสกปรก) ที่ครอบกันน้ำฝน รางน้ำฝน แถบปัดน้ำฝนเป็นต้น

  คิ้วกันสาดในภาษาอังกฤษ ชื่อที่ใกล้เคียงคือdrip strip(แถบกันน้ำฝน) drip edge(ขอบกันน้ำฝน) drip cap(ที่ครอบกันน้ำฝน)เป็นต้น แต่คุณสมบัติและการใช้สอยแตกต่างจากของไต้หวัน

 

drip strip แถบกันน้ำฝน

  drip stripในภาษาอังกฤษมีความใกล้เคียงกับแถบกันน้ำฝนในภาษาจีน ซึ่งมาจากชื่อผลิตภัณฑ์ของวัสดุ

 

drip edge ขอบกันน้ำฝน

  การใช้สอยของขอบกันน้ำฝน(Drip edge)ในอเมริกามักจะใช้งานบริเวณหลังคา ขอบๆกระเบื้องมุงหลังคา รางน้ำ นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นที่ใกล้เคียงคือ flashing

  สภาพอากาศในอเมริกาโดยหลักๆจะเป็นเขตอบอุ่น เขตหนาว รวมไปถึงเขตโซนร้อนในพื้นที่ทางใต้ ซึ่งจะมีน้ำแข็งและหิมะในฤดูหนาว ฝนตกในฤดูร้อนและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ โครงสร้างของบ้านส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างไม้ หลังคาส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างไม้ มีชั้นกันซึม(ice & water protector, roof sheathing) ภายนอกประดับด้วยกระเบื้อง(shingle)

  เนื่องจากมีน้ำแข็งและหิมะตกในฤดูหนาว ฝนตกในฤดูร้อน ตลอดจนอาคารที่เป็นไม้ซึ่งจำเป็นจะต้องป้องกันไม่ให้โครงสร้างไม้ของอาคารเกิดความชื้น ขอบกันน้ำฝนจะติดตั้งบริเวณขอบหลังคาซึ่งช่วยระบายน้ำฝนให้ออกไปจากตัวอาคาร และป้องกันไม่ให้น้ำแข็ง หิมะไหลซึมเข้ามาถึงพื้นชั้นกันซึมหรือระหว่างชั้นนอกกับชั้นกันซึม เพื่อไม่ให้โครงสร้างไม้ชื้นและผุพัง

 

drip cap ที่ครอบกันน้ำฝน

  การใช้สอยของที่ครอบกันน้ำฝน(Drip cap)ในอเมริกามักจะใช้งานบริเวณขอบหน้าต่าง วงกบหน้าต่าง เนื่องจากเป็นงานโครงสร้างไม้ ซึ่งdrip cap ให้ความรู้สึกคล้ายคลึงกับหน้าต่างกันฝน บัวหน้าต่าง เพียงแค่สามารถครอบปิดได้แค่วงกบหน้าต่างเท่านั้นและไม่ได้ยื่นออกไปข้างนอก โดยวัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม สแตนเลส พลาสติกเป็นต้น โดยติดตั้งระหว่างชั้นล่างสุดและชั้นกันซึมของผนังเพื่อระบายน้ำจากผนังออกไป และป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลซึมเข้าไปตามแนววงกบหน้าต่างและเกิดความชื้นในโครงสร้างไม้ เป็นต้น

 

drip line ท่อรางน้ำ

  ท่อรางน้ำ(Drip line)สามารถใช้งานได้2วิธี ในแง่ของสิ่งของคือเป็นท่อน้ำสำหรับพื้นที่เพาะปลูกและสวนผัก โดยท่อที่วางเรียงบนคันนาจะถูกเจาะรูเหล็กๆเพื่อให้น้ำได้ไหลออกมา

SSTI vs Drip Irrigation Flow Patterns.png
By Ionaustralia - Own work, CC0, Link

 

Drip line (2551568203).jpg
By Dwight Sipler from Stow, MA, USA - Drip lineUploaded by Jacopo Werther, CC BY 2.0, Link

 

  ท่อรางน้ำ(Drip line)ในแง่ของงานก่อสร้าง คือท่อที่ทำให้น้ำบนหลังคาไหลตามสายลงมาที่พื้น หากท่ออยู่ด้านล่างหินหรือปูน นานๆไปจะทำให้เกิดเป็นรูเล็กๆและมีตะไคร่จับ ยิ่งถ้าอยู่พื้นโคลนหรือพื้นหญ้าเมื่อฝนตกน้ำฝนจะซึมเข้าไปและส่งผลต่อความมั่นคงของฐานอาคาร เนื่องจากท่อรางน้ำส่วนใหญ่ต้องทำคลองร่วมด้วยคลองเปิดจากก้อนอิฐหรือคลองปิดจากก้อนกรวด เพื่อไม่ให้ฝนกันกร่อนพื้นและซึมเข้าไปถึงฐานอาคาร

บ้านอิฐสีแดง สนามหญ้าเขียวชะอุ่ม ท่อปูนระบายน้ำ
บ้านหลังเก่าออกแบบท่อระบายน้ำให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่มีแถบกันน้ำฝนบริเวณชายคาของบ้าน น้ำที่หยดลงไปก็จะไม่ส่งผลเสียต่อสนามหญ้าโดยรอบและยังสามารถป้องกันการกัดเซาะฐานอาคารจากน้ำฝนอีกด้วย

 

drip(rain) deflector คิ้วบัวกันสาด

  คิ้วบัวกันสาด (Rain deflector)ส่วนใหญ่จะใช้ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกอย่างสหราชอาณาจักร มีทั้งคิ้วบัวแบบเดี่ยวๆและแบบที่มีชิ้นส่วนที่ต้องใช้ร่วมกับธรณีประตู

  หากประตูห้องอยู่ภายนอกและไม่ใช่ประตูที่ปิดสนิทและสามารถกันน้ำได้ เมื่อน้ำฝนกระเด็นโดนประตูน้ำจะหยดลงพื้นและซึมเข้าไปยังภายในห้อง หากมีธรณีประตูกั้นอยู่อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหากธรณีประตูอยู่ภายนอก(ประตูที่เปิดจากด้านใน)หรือประตูและธรณีประตูอยู่ในแนวเดียวกันก็อาจจะเจอปัญหาน้ำไหลเข้าไปยังภายในได้

  คิ้วบัวกันสาด (Rain deflector)สามารถนำพาน้ำฝนที่อยู่เหนือประตูไหลออกไปให้พ่นธรณีประตูได้ ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำไหลซึมเข้าไปยังภายใน

 

รางน้ำ

  รางน้ำ(drip groove)หมายถึงรางน้ำที่อยู่เหนือช่องเปิดของผนัง เมื่อน้ำฝนไหลไปตามส่วนต่างๆจนถึงบริเวณช่องเปิดของผนัง ซึ่งน้ำฝนอาจจะไม่ได้หยดลงพื้นเสมอไป ด้วยแรงยกตัวและแรงลมจะดันน้ำฝนให้ไหลไปตามฝ้าเพดานทำให้น้ำหยดและกระเด็นเข้าไปยังภายใน รางน้ำสามารถป้องกันปัญหาน้ำไหลไปตามเพดาน น้ำไหลหยดลงมาและยังหลีกเลี่ยงปัญหาพื้นลื่นอีกด้วย

น้ำฝนไหลและกระเซ็นลงมาจากหลังคา
บริเวณขอบของชั้นบนไม่ได้ทำคิ้วกันสาด หลังคาก็ไม่มีรางน้ำหรือวัสดุสำหรับกันฝนสาดจึงทำให้น้ำกระเซ็นเข้าไปยังภายใน ทั้งโคมไฟและสายไฟที่อยู่ด้านข้าง รวมถึงพื้นระเบียงน้ำกระเด็นเข้าไปจนเปียกทั้งหมด

 

  ประเภทของอาคารที่ใช้รางน้ำฝนมักจะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมแรง โดยทั่วไปจะใช้บริเวณระเบียงทางเดิน ระเบียงทางเดินแบบเปิดโล่ง ดาดฟ้า บริเวณที่ไม่มีบัวชายคา บัวหน้าต่างหรือบริเวณที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ และยังสามารถติดตั้งบริเวณหน้าต่างเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าไปในวงกลหน้าต่างและซึมเข้าไปยังภายใน; ส่วนของบันได

น้ำฝนไหลลงมาตามขอบรางน้ำ
ฝ้าเพดานที่ติดตั้งรางน้ำช่วยให้น้ำฝนไหลไปตามผนังและถูกนำให้ไหลไปยังภายนอกโดยไม่สามารถไหลเข้าไปยังภายในและทำให้พื้นเปียกได้

 

  อาคารและผนังเตี้ยๆที่ติดทับด้วยแผ่นหินแกรนิตหรือแผ่นหินอ่อนจะมีส่วนที่ยื่นออกมาเลยผนัง ก่อให้เกิดเป็นคิ้วกันสาดที่รูปร่างที่คล้ายจะงอยปากซึ่งสามารถเป็นทั้งคิ้วกันสาดและรางน้ำได้ด้วย

ผนังดาดฟ้าที่ติดตั้งแผ่นหินแกรนิตก่อให้เกิดเป็นคิ้วกันสาดที่รูปร่างที่คล้ายจะงอยปาก
ผนังดาดฟ้าในอาคารที่มีการติดตั้งแผ่นหินแกรนิตต้องใส่ใจกับวัสดุที่ปิดครอบบริเวณผนังส่วนบนต้องให้เลยออกมาและเอียงเข้าด้านในเล็กน้อยให้มีรูปร่างคล้ายจะงอยปากเพื่อใหสามารถกันน้ำฝนได้เช่นเดียวกับคิ้วกันสาด ช่วยให้น้ำระบายออกไปและป้องกันไม่ให้คราบน้ำฝนหรือคราบสกปรกไหลลงตามผนังให้ผนังสามาถคงความสวยงามไว้ได้

 

Pin It